วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปยุโรปยุคกลาง



ยุคกลาง ค.ศ.476 – ค.ศ.1453
ลักษณะเฉพาะของอารยธรรมสมัยกลาง
เป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านต่างๆในยุโรปในเวลาต่อมา

สมัยแห่งความศรัทธา Ages of Faith ทัศนคติและจุดมุ่งหมายของชีวิต คือความพยายามของมนุษย์ที่จะทำให้โลกนี้เป็นวิถีไปสู่โลกหน้า
อาณาจักรโรมันล่มสลาย
บ้านเมืองปั่นป่วน ระส่ำระสาย ไม่แน่นอน ปรากฏโดยทั่วไป
คริสต์ศาสนา
-อาณาจักรโรมันล่มสลาย แต่คริสต์ศาสนาไม่ได้ถูกทำลาย องค์สันตปาปา ยังคงประทับที่กรุงโรม
-ชนเผ่าเยอรมัน ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาจึงมีอิทธิพลทั่วยุโรป
ช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 - 10
ปรากฏความเจริญ
-อารยธรรมไบแซนไทน์(กรุงคอนสแตนติโนเปิล)
-อารยธรรมของ Germanic Trives (ยุโรป)
-อารยธรรมอิสลาม (ตะวันออกกลาง)
อารยธรรมยุโรปในยุคกลาง
เป็นการผสมผสานระหว่าง
-อารยธรรมคลาสสิค
-วัฒนธรรมชนเผ่าเยอรมัน
-วัฒนธรรมคริสต์ศาสนา
-ระบบฟิวดัล
Germanic Tribes
อนารยชนเผ่าเยอรมัน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณทะเลแคสเปียน เร่ร่อนล่าสัตว์เข้ามาถึงอาณาจักรโรมัน มีหลายเผ่า เช่น Frank Alemanni Saxan Goth
ยุคมืด Dark Ages
ศาสนาคริสต์ มีบทบาทต่อวิถีชีวิต ท่ามกลางความระส่ำระสายของสังคม ศาสนาสามารถตอบสนองความปรารถนาทางจิตใจของคน สอนถึงความรักที่พระเจ้ามอบให้มนุษย์ การส่งพระบุตรลงมารับบาปของมนุษย์ รวททั้งความหวังที่จะอยู่กับพระเจ้าในโลกหน้า
คริสต์จักร
1.เป็นผู้ชี้ชะตาและอนาคตของมนุษย์ตั้งแต่เกิด-ตาย
2.สร้างความหมายในชีวิตให้มนุษย์
3.สร้างความอบอุ่นและความหวังให้แก่มนุษย์ผู้ปราศจากที่พึ่ง
4.ชีวิตมนุษย์ เป็นการเตรียมตัวสำหรับชีวิตหน้า “วันพิพากษา”
อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ Holy Roman Empire การสถาปนากษัตริย์ชาร์ลมาญ ของพวก แฟรงค์ เป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แสดงถึงอิทธิพลทางศาสนาอย่างมาก
การเสื่อมอำนาจของกษัตริย์
-ต่อมายุโรปถูก มุสลิม ฮั่น ไวกิ้ง รุกราน บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย ทำให้อำนาจกษัตริย์ลดลง
-ขุนนางมีบทบาทขึ้นแทน ได้รับมอบอำนาจจากกษัตริย์ให้ปกครองดูแลที่ดินและประชาชนFeudalism

ระบบฟิวดัล c 11-13
Lord - Vassal
เกิดระบบผู้อุปการะ-ผู้รับอุปการะ ประชาชนละเลยอำนาจส่วนกลาง(กษัตริย์)และปฏิบัติตามคำสั่งเจ้านาย(ขุนนาง)
การปกครอง มีลักษณะเป็นการกระจายอำนาจขุนนาง นักรบ มีอำนาจในการปกครองที่ดินได้รับพระราชทานมา(รับที่ดินมาในลักษณะเช่า) และปกครองผู้คนที่อพยพเข้ามาอาศัย
ด้านเศรษฐกิจ ศูนย์กลางเศรษฐกิจคือคฤหาสน์หรือ manorial system
อาชีพหลักคือการทำการเกษตรปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
สภาพสังคม พัฒนาคนเป็นไปตามแรงศรัทธา และทิศทางของคริสต์ศาสนา
ศูนย์รวมอยู่ที่วัด พระมีอำนาจและร่ำรวยจากการขายใบไถ่บาป
สงครามครูเสด ค.ศ.1095-1291
สงครามครูเสด (Crusade War) ถือเป็น สงครามศาสนา อันยาวนาน ระหว่างกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์ กับประเทศกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม
เริ่มขึ้นและจบลงในสมัยที่ชาวยุโรปเรียกกันว่ายุคกลาง อันเป็นยุคที่ศาสนาคริสต์มีบทบาทกับชีวิต ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนชาติในยุโรปเกือบทุก ๆ ชาติ ที่ขณะนั้นมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 80 เชื้อชาติ และมีรัฐเล็กรัฐน้อยอยู่ไม่ต่ำกว่า 100 รัฐ สงครามเกิดขึ้น 8 ครั้งด้วยกันในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13
กินเวลา 200 ปี สงครามครูเสด
ปฏิบัติการณ์สงครามครั้งแรกยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรโรมันตะวันออกจึงไม่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งการขาดเอกภาพในการนำทหารชาวยุโรปจากหลายอาณาจักร ทำให้ไม่สามารถโจมตีและยึดกรุงเยรูซาเล็มได้อย่างที่ต้องการ


ยุโรป ภายหลังสงครามครูเสด
ใน c12 บ้านเมืองสงบ การค้าฟื้นตัว มีเส้นทางถนนค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ และเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียน – ทะเลบอลติคสินค้าตะวันออกเป็นที่ต้องการ ทำให้พ่อค้าร่ำรวยมาก และมีบทบาททั้งทางเศรษฐกิจ มีบทบาททางสังคม เกิดชุมชนเมือง(bougeois)และขยายอำนาจเข้าสู่วงการเมือง

ยุคกลาง (
อังกฤษ: Medieval Age) หรือ สมัยกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) เป็นหนึ่งในการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์โลก นำหน้าด้วยอารยธรรมสมัยคลาสสิค และตามหลังด้วยสมัยใหม่
นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาสมัยกลางของสากลโลกไว้ว่า การล่มสลายของ
จักรวรรดิโรมันตะวันตกในค.ศ. 476 เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง เพราะหลังการล่มสลาย จักรวรรดิโรงมันตะวันออก ซึ่งกลายเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ การล่มสลายของมหาอำนาจทำให้ยุโรปแตกเป็นอาณาจักรมากมายและไม่มีขื่อแป จนตกเป็นเหยื่อของการรุกรานจากชนชาติภายนอก คริสต์ศาสนาจึงกลายเป็นที่พึ่งและสถาบันสูงสุดของยุโรปสมัยกลาง จนในศตวรรษที่ 15 ชาติต่าง ๆ ในยุโรปสามารถรวมตัวกันเป็นรัฐชาติ (Nation-States) จนพัฒนากลายเป็นประเทศต่าง ๆในปัจจุบันได้ หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1453 ทำให้ความรู้ของกรีกและโรมันแพร่กระจายไปทั่วยุโรป เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงเริ่มต้นเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลางของสากลโลก และเปิดโลกเข้าสู่สมัยใหม่

ความโทมนัส” โดย จอตโต ดี บอนโดเน
เนื้อหา:
1. การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน2. ยุคมืด3. สมัยกลางเรืองอำนาจ (High Middle Ages)4. ดูเพิ่ม
1. การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

ยุโรปประมาณค.ศ. 450
จักรวรรดิโรมันแผ่ขยายอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์ราเนียนจนมีอาณาเขตสูงสุดในศตวรรษที่ 2 แต่อาณาจักรโรมันที่ใหญ่เกินไปทำให้ยากแก่การปกครอง ทำให้ต้องแบ่งจักรวรรดิออกเป็นตะวันออกและตะวันตก ในค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชตั้งเมืองไบแซนติอุม (Byzantium) เป็นเมืองหลวงใหม่แทนที่โรม ตั้งชื่อใหม่เป็นโรมใหม่ (Nova Roma) แต่ผู้คนมักจะเรียกว่า เมืองของพระเจ้าคอนสแตนติน คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) สงครามกับชนเผ่าเยอรมัน ในยุโรปกลางและตะวันออกในปัจจุบัน ทำให้ชาวโรมันเหนื่อยล้า ในศตวรรษที่ 4 พวกชนฮั่น (Huns) จากเอเชียบุกเข้ามาในยุโรปสังหารเผ่าเยอรมันอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เผ่าเยอรมันต่าง ๆ มาขออาศัยในจักรวรรดิ แลกเปลี่ยนกับการถูกเกณฑ์ไปรบ ใน ค.ศ. 378 ในการรบที่อเดรียโนเปิล (Adrianople) เผ่าวิสิโกธ เอาชนะทัพโรมันและยึดแคว้นดาเชีย (Dacia โรมาเนียในปัจจุบัน) เป็นที่มั่น
ใน
ค.ศ. 391 จักรพรรดิธีโอโดซิอุสออกกฎหมายให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาเพียงหนึ่งเดียวของจักรวรรดิโรมัน ความเชื่อตามหลักของคริสต์ศาสนานั้นบรรเทาความกระหายสงครามของชาวโรมันจนเกือบหมด ทำให้ต้องจ้างทหารเผ่าเยอรมันเพื่อให้สู้กับพวกเยอรมันเอง กองทัพโรมันจึงอ่อนแอลง
พระเจ้าธีโอโดซิอุสทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นตะวันออกและตะวันตก การแบ่งจักรวรรดิเป็นการตัดเนื้อร้ายของจักรวรรดิ คือ ฝั่งตะวันตกที่ย่อยยับด้วยการรุกรานของเผ่าอนารยชน ทำให้จักรวรรดิฝั่งตะวันออก ที่รุ่งเรืองด้วยการค้ากับเส้นทางสายไหม ยังคงอยู่รอดเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปอีกพันปี
ใน
ค.ศ. 409 เผ่าแวนดัล (Vandals) ทนการโจมตีของพวกฮั่นไม่ไหว จึงข้ามแม่น้ำไรน์ที่เป็นน้ำแข็งมาในแคว้นโกล (Gaul) ปล้นสะดมไปตามทางและตั้งรกรากที่คาบสมุทรไอบีเรีย ในค.ศ. 410 พระเจ้าอลาริค (Alaric) แห่งพวกวิซิกอททำทัพบุกยึดกรุงโรม เผาทำลายเมืองจนพินาศ จนจักรพรรดิโฮโนริอุส แห่งจักรวรรดิตะวันตก ยกแคว้นอากีแตนในฝรั่งเศสปัจจุบันให้กับพวกวิซิกอท พวกวิซิกอทจากอากีแตนก็บุกไอบีเรียขับพวกแวนดัลไปแอฟริกาเหนือในค.ศ. 429 พวกแวนดัลจากแอฟริกายกทัพเรือกลับมาโจมตีทำลายกรุงโรมใน ค.ศ. 455
ใน
ค.ศ. 476 โอโดอาเซอร์ (Odoacer) จากเผ่าเยอรมันโจมตีกรุงโรม และปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งฝั่งตะวันตก คือ จักรพรรดิโรมุลุส ออกุสตุส (Romulus Augustus) ทำให้จักรพรรดิฝั่งตะวันออกส่งพระเจ้าธีโอโดริค (Theodoric) แห่งชาวออสโตรกอท (Ostrogoths) มายึดโรมคืน แต่ธีโอโดริคก็ตั้งอาณาจักรในอิตาลีเสียเอง
2. ยุคมืด
ดูบทความหลักที่
ยุคมืด
ชนเผ่าเยอรมันต่างๆเข้ามาแทนที่จักรวรรดิโรมัน ได้แก่ ชาว
แองเกิลส์และชาวแซ็กซอนในอังกฤษ ชาวแฟรงก์ในฝรั่งเศส ชาววิซิกอธในสเปน ชาวแวนดัลในแอฟริกา ชาวออสโตรกอธในอิตาลี แต่จักรวรรดิโรมันตะวันออกนั้นยังอยู่ยั้งยืนยง แต่ในยุโรปตะวันตกนั้น อารยธรรมโรมันค่อยๆสูญสลาย เมื่อบ้านเมืองไม่มีขื่อแป การค้าขายและคุณภาพชีวิตจึงเสื่อมลง มีเพียงสถาบันศาสนาที่ยังคงประดิษฐานมั่นคงเป็นที่พึ่งของประชาชน สมัยนี้จึงเรียกว่ายุคมืดซึ่งไม่เกี่ยวกับความมืดมนแต่อย่างใดแต่เป็นสมัยที่บันทึกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มีหรือครุมเครือ
จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งโรมันตะวันออกทรงต้องการจะรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่ เลยทรงทำมหาสงครามยึดดินแดนต่างๆคืน โดยทรงทำลายอาณาจักรพวกแวนดัลใน
ค.ศ. 533 และพวกออสโตรกอธในค.ศ. 552 แต่ดินแดนที่พระองค์ยึดมาได้นั้นจะหลุดมือไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการรุกรานของชาวมุสลิมในศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวอาหรับยึดได้แอฟริกาเหนือทั้งหมด และทำลายอาณาจักรชาววิซิกอธและยึดสเปนในค.ศ. 711 รวมทั้งบุกอิตาลีด้วย
แต่การรุกรานของชาวมุสลิมก็สามารถต้านท้านไว้ได้โดยชาวแฟรงก์ พวกแฟรงก์เรืองอำนาจในศตวรรษที่ 9 ภายใต้
ราชวงศ์คาโรริงเจียน ปราบปรามเผ่าเยอรมันอื่นๆ และพิชิตเยอรมนี แผ่ขยายอิทธิพลของคริสต์ศาสนา จักรวรรดิไบแซนไทน์ที่อ่อนแอลงทำให้ควบคุมอิตาลีไม่ได้ ชาวลอมบาร์ด (Lombards เผ่าเยอรมันอีกเผ่า) จึงเข้ารุกรานอิตาลี พระสันตะปาปาทรงขอให้พระเจ้าชาร์เลอมาญ (Charlemagne) แห่งชาวแฟรงก์ช่วยเหลือ พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงสามารถขับชาวลอมบาร์ดได้ และสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันในค.ศ. 800 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)
จักรวรรดิของพระเจ้าชาร์เลอมาญถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์ดัง (Verdun) ใน
ค.ศ. 843 เป็นอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ตะวันตก และกลาง แต่อิทธิพลของราชวงศ์คาโรแลงเจียนก็เสื่อมลง ประจวบกับการรุกรานของชาวไวกิง (Vikings) จากสแกนดีเนเวีย บุกปล้นสะดมเมืองชายฝั่งต่างๆทั่วยุโรป ทำให้การค้าล่มสลาย กษัตริย์ทรงมิอาจจะต้านการรุกรานได้ ประชาชนจึงต้องพึ่งขุนนางท้องถิ่น ทำให้ขุนนางท้องที่มีอำนาจขึ้นมา เกิดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ที่อำนาจเป็นของขุนนาง ขณะที่กษัตริย์นั้นอ่อนแอลงทุกวัน
3. สมัยกลางเรืองอำนาจ (High Middle Ages)
ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในอาณาจักรแฟรงก์ต่างๆนั้นจะเป็นลักษณะของสมัยกลาง คือ นาย (lord) มีที่ดิน แบ่งที่ดิน (fief) ให้ลูกน้อง (vassal) ไปเพาะปลูกเกษตรกรรมและสร้างกองทัพ ขณะเดียวกันลูกน้องต้องทำหน้าที่ คือ จงรักภัคดี (homage) และช่วยรบในสงคราม และลูกน้องก็อาจจะมีลูกน้องอีกทีเป็นขั้นๆ นายที่ใหญ่ที่สุด คือ กษัตริย์ แบ่งที่ดินเป็นแคว้นๆให้ขุนนางใหญ่ปกครอง และขุนนางเหล่านั้นก็มีขุนนางใต้บังคับบัญชาอีกที
ราชวงศ์คาโรแลงเจียนในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและตะวันตกสิ้นสุด อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกกลายเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน
ค.ศ. 962 ด้วยการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปา ในค.ศ. 1072 พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ทรงมีความขัดแย้งกับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 ในการแย่งชิงอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ เรียกว่า ข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) จนจักรพรรดิเฮนรีต้องทรงเดินข้ามเทือกเขาแอลป์เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา เป็นชัยชนะของสถาบันศาสนาต่อการปกครองบ้านเมือง การเสื่อมอำนาจของพระจักรพรรดิทำให้นครรัฐต่างๆในอิตาลีเรืองอำนาจขึ้นมา
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกกลายเป็นอาณาจักรฝรั่งเศส ภายใต้
ราชวงศ์กาเปเชียง อาณาจักรฝรั่งเศสเป็นที่ที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ส่งผลร้ายแรงที่สุด ฝรั่งเศสแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงไม่มีพระราชอำนาจในการควบคุมขุนนาง ทรงมีเพียงที่ดินรอบๆกรุงปารีสเท่านั้น ขุนนางฝรั่งเศสคนหนึ่งได้เป็นกษัตริย์อังกฤษ และด้วยการแต่งงานทำให้ได้ที่ดินมากมายในฝรั่งเศสเป็นของตนทำให้มีอำนาจมากกว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสเองเสียอีก
ดูบทความหลักที่
สงครามครูเสด
แม้ชาวมุสลิมจะยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ไป แต่ก็ให้เสรีภาพแก่ผู้แสวงบุญชาวคริสต์ที่จะเดินทางไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่ในศตวรรษที่ 11
เซลจุคเติร์กเข้ายึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์และขัดขวางการเดินทางแสวงบุญของชาวคริสต์ รวมทั้งได้รับแรงบันดาลใจจากการต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวมุสลิมในสเปน ประกอบกับการร้องขอจากจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ให้มาช่วยรบพวกเติร์ก พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 1 จึงประชุมสภาคลีมองต์ (Council of Clermont) ประกาศว่าทุกคนที่ไปช่วยยึดดินแดนศักดิ์สิทธิคืนจะได้รับการไถ่บาป (indulgence) ทำให้ทั้งขุนนางและชาวบ้านยกพลกันไปดินแดนศักดิ์สิทธิ์ จนยึดดินแดนเยรูซาเล็มได้ในค.ศ. 1099 ตั้งอาณาจักรครูเสดต่างๆ เช่น ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม อัศวินคณะต่างๆ เช่น อัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar) หรืออัศวินฮอสพิทัลเลอร์ (Hospitallers) ทำสงครามกับพวกเติร์ก
แต่รัฐครูเสดเหล่านี้อยู่ได้ร้อยกว่าปีก็เสียให้ชาวมุสลิมไปในที่สุด โดยเฉพาะสุลต่าน
ซาลาดิน แห่งไคโร ยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนในค.ศ. 1291 ชาวยุโรปจึงถูกขับออกจากตะวันออกกลางไปในที่สุด สงครามครูเสดครั้งต่อๆมา เปลี่ยนเป้าหมายไปอย่างสิ้นเชิง ในค.ศ. 1204 สงครามครูเสดครั้งที่ 4 ลงเอยด้วยการยึดจักรวรรดิไบแซนไทน์ ตั้งจักรวรรดิลาติน (Latin Empire) และรัฐครูเสดต่างๆในกรีซ หรือสงครามครูเสดตอนเหนือโดยอัศวินทิวทัน (Teutonic Knights) ปราบปรามชาวบอลติกอย่างโหดร้ายให้มาเข้ารีตศาสนาคริสต์
ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 13
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ออกุสตุส ปราบปรามและยึดที่ดินจากขุนนางต่างๆขยายอำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสจนกลายเป็นมหาอำนาจของสมัยกลาง ขณะที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิทรงมุ่งจะกู้เมืองต่างๆในอิตาลีที่เป็นอิสระและสนับสนุนพระสันตะปาปา ทรงให้อำนาจขุนนางในเยอรมนี ทำให้เยอรมนีแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย

ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
เขียนโดย Umaphan Rachataves เมื่อ พุธ, 12/31/2008 - 15:45 | แก้ไขล่าสุด พุธ, 12/31/2008 - 22:20
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) หมายถึงการเกิดใหม่ของการศึกษา การฟื้นฟูอุดมคติ ศิลปะและวรรณกรรมของกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาสิทธิเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอบเขตของมนุษย์ ของมนุษย์ที่เคยถูกจำกัดโดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนา ยุคการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 และสิ้นสุดลงในกึ่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถือว่าเป็นจุดเชื่อต่อของประวัติศาสตร์สมัยกลางและสมัยใหม่
ยุคเรเนซองส์ (Renaissance )อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14-15 เป็นยุคฟุ้มเฟือยที่สุด หรูหราที่สุด กามรมณ์ที่สุด เป็นชื่อช่วงเวลาหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป หลังจากที่ได้ผ่านยุคกลางหรือยุคมืด ( Medieval Age ) ซึ่งกินระยะเวลายาวนานกว่าหนึ่งพันปี ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 5 ถึง 15 การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรโรมัน, การเสื่อมของโรมและการเติบโตของคอนสแตนติโนเปิล, การแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรออตโตมัน (มุสลิม - เติร์ก)และสงครามครูเสดระหว่างคริสต์และมุสลิมเพื่อแย่งชิงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์, สงครามหนึ่งร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส, นักบุญ Joan of Arc, ความศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า, อำนาจที่มากขึ้นของฝ่ายศาสนจักร เรอเนซองส์ จึงเหมือนกับการกลับมาเกิดใหม่ของศิลปะและหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในยุโรป
ชาวอิตาลีเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้ ไฟขึ้นดอกไม้ไฟรูปแบบใหม่ ๆ ถือเป้นที่เกิดขึ้นในยุคนี้โดยมีการดัดแปลงเพิ่มโลหะกับถ่านไปในส่วนผสมที่ใช้ทำจรวดซึ่งเมื่อปล่อยขึ้นฟ้าก็จะเปล่งประกายแสง วัฒนธรรมของยุคโบราณเช่นกรีก รวมถึงทัศนะมนุษยนิยมซึ่งต่างจากในยุคกลางที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิต นั่นคือการกลับมาเน้นเรื่องของปัจเจกนิยม มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงสามารถแสวงหาความสุขให้กับชีวิตบนโลกนี้ได้
การมองโลกแบบนี้ทำให้เกิดเสรีภาพใหม่ในการพัฒนาตนเอง มีการพัฒนาการในเรื่องของศิลปะและสถาปัตยกรรม, วรรณคดี, ดนตรี, ปรัชญา, และวิทยาศาสตร์ มีการท้าทายอำนาจของศาสนจักรเพราะเริ่มมีทัศนะใหม่ที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับพระเจ้ากลับมีความสำคัญมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างเขากับคริสตจักรในฐานะที่เป็นองค์กร บุคคลสำคัญในเรื่องนี้คือ มาร์ติน ลูเธอร์ และมีศิลปินมากมายเกิดขึ้นในยุคนี้ เช่น ดาวินซี ไมเคิล แองเจโล บอตติเซลลี ราฟาเอล ติเตียน เกรกโก
วัตถุประสงค์ของการสร้างผลงานจะต่างกับยุคกลางที่เน้นในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์, ความเป็นศูนย์กลางของชีวิต มาเป็นงานที่เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกของศิลปินและผู้ชมงานมากขึ้นและขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางทั้งประติมากรรม จิตรกรรม และสถาปัตยกรรม การใช้วิธีและรูปแบบใหม่ในการวาดภาพเช่น เรื่องของ perspective, เน้นกายวิภาคที่เป็นจริงมากขึ้นและในยุคเดียวกันนี้ก็เริ่มเป็นยุคเสื่อมของอาณาจักรเขมรหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ดผู้สร้างนครธมสิ้นพระชนม์ และการเติบโตขึ้นของอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา จนในต้นศตวรรษที่ 15 อาณาจักรเขมรก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาโดยสิ้นเชิง


แนวคิดสำคัญ
มนุษย์นิยม ธรรมชาตินิยม รวมกับแนวคิดของศาสนาตริสต์
ศิลปินคนสำคัญ
ศิลปินยุคที่มีความสามารถหลายด้านที่มีชื่อเสียงอย่างมากได้แก่ลีโอนาโด ดาวินชีไมเคิล แองเจลโล
สถาปัตยกรรม
วิหารเซนต์ปิเตอร์ และวิหารเซนต์ปอล
ประติมากรรม
ที่โดดเด่น ได้แก่ ผลงานของไมเคิล แองเจลโล คือ รูปสลักเดวิด : รูปชายหนุ่มเปลือยกาย รูปสลักลาปิเอตา : รูปพระแม่ประครองพระเยซู

จิตรกรรม
เริ่มมีการเขียนภาพสามมิติ ( Perspective )
ที่สำคัญได้แก่ ผลงานของ
1. ไมเคิลแองเจลโล ได้แก่ ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ( The last judgement )
2. ลีโอนาโด ดาร์วินชี ได้แก่ ภาพ “โมนาลิซา ” และ “อาหารมื้อสุดท้าย” (The last super)
3. ราฟาเอล ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตรและจอห์น แบบติสต์ แสดงความรักต่อแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ

วรรณกรรม
1. เน้นแนวมนุษยนิยม ใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาละติน
2. วรรณกรรมสำคัญ ได้แก่
เจ้าผู้ครองนคร ( The prince ) ของ นิโคไล มาเคียเวลลี บรรยายถึงศิลปะการปกครองของเจ้านคร
Utopia ของ โทมัสมอร์ กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย
คัมภีร์ไบเบิลใหม่ของ อีรัสมุส แห่งรอตเตอร์ดัม
บทละครของวิลเลี่ยม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมีโอและจูเลียต เวนิสวาณิช คิงเลียร์ แมคเบท ฝันคืนกลางฤดูร้อน เป็นต้น ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน



ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ ยุคเรอเนสซองซ์ (ฝรั่งเศส: Renaissance; แปลว่า การเกิดใหม่ อิตาลี: Il Rinascimento; อังกฤษ: Renaissance ) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่ระหว่างยุคกลาง (Middle Age) และยุคปัจจุบัน (Modern Age) การเริ่มต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมเริ่มต้นในประเทศอิตาลี เนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขายระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และยุโรปเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ 16ประวัติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุกๆด้าน อาทิเช่น1.ศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซ่า ไมเคิล แองเจลโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอล ผู้กำกับการสร้างและตกแต่ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ เป็นต้น 2.เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกส และ สเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้น 3.วิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง เป็นต้น 4.ตัวอย่างศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ในไทย เช่น พระราชวังพญาไท ศิลปะศิลปะเรอเนสซองซ์ (พ.ศ. 1940 - 2140) คำว่า "เรอเนสซองซ์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรเนสซองซ์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มิเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักทางศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในยุคยุคฟื้นฟูศิลปวิทยานี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา